กลศาสตร์ของไหล Fluid Mechanics

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553 0 ความคิดเห็น

http://www.sci.rmuti.ac.th/physics/physics1/Phys1_Chapter_08.pdf

วันเกิด isaac newton

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 0 ความคิดเห็น



 


เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) (4 มกราคม พ.ศ. 2186-31 มีนาคม พ.ศ. 2270 (ตามปฏิทินเกรกอเรียน) หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185- 20 มีนาคม พ.ศ. 2270 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ นิวตันเกิดที่เมืองวูลสธอร์ป ลิงคอนไชร์ ประเทศอังกฤษ


วัยเด็ก

นิวตันเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ บิดา(ชื่อเดียวกัน)ได้เสียชีวิตตั้งแต่ก่อนนิวตันถือกำเนิด 3 เดือน มารดาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ มารดาของนิวตันได้แต่งงานใหม่เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบและได้ทิ้งนิวตันไว้ให้ยายของนิวตันเลี้ยงจนสามีคนที่สองตายเมื่อนิวตัน อายุ 11ขวบ นิวตันจึงได้อยู่กับมารดาอีกครั้ง

การศึกษา

นิวตันได้รับการศึกษาที่โรงเรียนหลวงแกรนแธมและคาดหวังว่าจะดำเนินชีวิต เป็นเกษตรกรตามประเพณีของครอบครัว แต่มารดาได้รับการชักจูงให้ส่งนิวตันเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2204 นิวตันก็ได้เข้าศึกษาในทรินิตีคอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในฐานะนิสิตยากจนที่ต้องทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิชาการเพื่อหาเงินจุนเจือค่าเล่าเรียน

ในระหว่างเรียนปีแรกๆ นิวตันไม่ได้แสดงให้เห็นแววความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ แต่ “ไอแซก บาร์โรว์” ผู้ดำรงตำแหน่ง “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics) ได้ส่งเสริมและให้กำลังใจแก่นิวตันเป็นอย่างมาก นิวตันจบการศึกษาได้รับปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2208 โดยไม่ได้เกียรตินิยม ในขณะที่เตรียมการเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทเมื่อปี พ.ศ. 2207 ก่อนรับปริญญาก็ได้เกิดโรคกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอนเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยปิดไม่มีการเรียนการสอนในปีต่อมา

ในระหว่างช่วงพักการระบาดของกาฬโรค นิวตันต้องอยู่บ้านแต่ก็ได้ศึกษาธรรมชาติของแสงสว่างและได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้น นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้วปริซึมและสรุปว่ารังสีต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนส์แก้ว ไม่ชัดเจนก็เนื่องมาจากการหักเหของพู่กันรังสีของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์ทำ ให้มุมหักเหต่างกันมีผลให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานให้มีการพัฒนากล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงา สะท้อนแสงที่สมบูรณ์โดยวิลเลียม เฮอร์เชล และ เอิร์ลแห่งโรส ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการโคจรของดาวเคราะห์

ในการกลับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2210 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ในทรินิตีคอลลเลจและได้รับปริญญาโทในปี พ.ศ. 2211 ปีต่อ ไอแซก บาร์โรว์ได้ลาออกจากตำแหน่ง “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” เพื่อเปิดโอกาสให้นิวตันผู้เป็นศิษย์รับตำแหน่ง ชุดปาฐกถาของนิวตันในตำแหน่งนี้มีผลให้เกิดตำรา “ทัศนศาสตร์” เล่ม 1 (Optics Book 1)

การทำงาน

การหล่นของผลแอปเปิลทำ ให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็น แรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียน จดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและโรเบิร์ต ฮุก ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการกลศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ได้ มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาว เคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้ พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับ การอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (Philosophiae naturalist principia mathematica หรือ The Mathematical Principles of Natural Philosophy) ก็ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งเนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่องความโน้มถ่วงสากล และเป็นการวางรากฐานของกลศาสตร์ดั้งเดิม (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่านกฎการเคลื่อนที่ ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น. นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนาแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์อีกด้วย
งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของนิวตัน

งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับ การยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของกาลิเลโอเป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา

ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจากพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิตกษาปณ์เนื่อง จากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับ การปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ Optics ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว


บั้นปลายของชีวิต


ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก ไลบ์นิซ และแฟลมสตีด ซึ่งนิวตันได้แก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจิตนาการหรือไม่ค่อย เป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิ วตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งใน สมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภาราชบัณฑิตของอังกฤษที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”

เซอร์ไอแซก นิวตันมีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัยกรุงศรีอยุธยา

water on the moon

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น



 


นับแต่มนุษย์สัมผัสดวงจันทร์ ครั้งแรกและขนหินกลับโลก นักวิทยาศาสตร์ยังคงเชื่อว่า ผิวดวงจันทร์นั้นแห้งแล้ง แต่หลักฐานล่าสุดจากยานสำรวจถึง 3 ลำ ยืนยันชัดเจนว่ามีน้ำอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์จริง แม้เป็นปริมาณน้อยมาก แต่เป็นความหวังผลิตน้ำสำหรับสร้าง "ฐานดวงจันทร์" ก่อนไปยังดาวอื่น คาดน้ำอาจจะเกิดจากอันตรกริยาจากลมสุริยะ

สเปซดอทระบุว่า การค้นพบนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนการค้นพบของยานลูน าร์รีคอนเนสซองซ์ออร์บิเตอร์หรือ LRO (The Lunar Reconnaissance Orbiter) ซึ่งรายงานว่าพบหลุมลึกที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ ที่หวังว่าจะมีร่องรอยของน้ำแข็งที่ทับถมกันอยู่ และได้รายงานการค้นพบดังกล่าวในวารสารไซน์ (Science) ก่อนหน้าการค้นพบของดาวเทียม LCROSS ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เพียงไม่กี่อาทิตย์

ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดจากจันทรายาน-1 (Chandrayaan-1) ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของอินเดีย พร้อมด้วยข้อมูลจากยานแคสสินี (Cassini) และยานดีพอิมแพ็ค (Deep Impact) ของนาซา สอดคล้องกันว่าได้พบสัญญาณของน้ำและหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) ซึ่งเป็นพันธะเคมีระหว่างออกซิเจนและไฮโดรเจน

ในส่วนของจันทรายานดาวเทียมของอินเดียที่โหม่งดวงจัน ทร์ไปเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากระบบขัดข้องนั้น มีเป้าหมายที่จะทำแผนที่พื้นผิวดวงจันทร์ และประเมินองค์ประกอบแร่ธาตุของดวงจันทร์

ก่อนหน้านี้ที่ยานยังทำงานได้อยู่นั้น หัววัดทำแผนที่แร่ธาตุบนดวงจันทร์ M3 (Moon Mineralogy Mapper) ได้พบความยาวคลื่นแสงที่สะท้อนจากพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งแสดงว่าเป็นพันธะเคมีระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน อันบ่งชี้ว่าเป็นสัญญาณทั้งของน้ำและหมูไฮดรอกซีล

ทั้งนี้หัววัด M3 รับสัญญาณพื้นผิวดวงจันทร์ลึกลงไปได้เพียงแค่ 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น ข้อมูลล่าสุดนี้จึงเห็นเพียงน้ำบริเวณผิวดวงจันทร์ และยังพบด้วยว่าสัญญาณของน้ำในบริเวณใกล้ๆ ขั้วดวงจันทร์มากกว่า

ส่วนยานแคสสินี ซึ่งเดินทางผ่านดวงจันทร์เมื่อปี 2542 เพื่อมุ่งหน้าสู่ดาวเสาร์นั้น ได้ให้ข้อมูลที่ยืนยันสัญญาณของน้ำหรือไฮดรอกซีลอย่า งชัดเจน ซึ่ง โรเจอร์ คลาร์ก (Roger Clark) จากหน่วยสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ ได้เขียนรายงานรายละเอียดการศึกษาสิ่งที่แคสสินีค้นพ บว่า น้ำบนผิวดวงจันทร์น่าจะถูกดูดซับหรือกักเก็บในทรายหร ือแร่ธาตุของดวงจันทร์เอง และข้อมูลจากแคสสินียังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของน้ำที ่เข้มขึ้นในบริเวณใกล้ๆ ขั้วโลก

สุดท้ายคือยานดีพอิมแพค ยานของปฏิบัติการ EPOXI (Extrasolar Planet Observation and Deep Impact Extended Investigation) ได้ตรวจพบสัญญาณอินฟราเรดของน้ำและหมู่ไฮดรอกซีล ซึ่งถือเป็นการสอบเทียบเครื่องมือระหว่างเข้าใกล้การ โคจรระหว่างโลกและดวงจันทร์หลายครั้ง ก่อนปฏิบัติการเข้าสำรวจดาวหาง 1003พี/ฮาร์ทเลย์ 2 (103P/Hartley) ในเดือน พ.ย.2553

สัญญาณที่ดีพอิมแพคตรวจพบอยู่ที่ละติจูด 10 องศาเหนือทั้งหมด โดยการสำรวจหลายๆ ครั้งในบริเวณเดิมแต่ต่างช่วงเวลาในวันของดวงจันทร์พ บว่า ช่วงเที่ยงของดวงจันทร์เมื่อแสงอาทิตย์แรงกล้าที่สุด ของวัน จะพบสัญญาณน้ำต่ำสุด ขณะที่ช่วงเช้าพบสัญญาณน้ำสูงสุด

อย่างไรก็ดี ดวงจันทร์ก็ยังคงแล้งยิ่งกว่าทะเลทรายใดๆ บนโลกเสียอีก โดยมีปริมาณน้ำเพียงเล็กน้อย หากคั้นน้ำจากชั้นผิวดินด้านบนของดวงจันทร์ 1 ตัน จะได้ประมาณ 1 ลิตรเท่านั้น

"หากโมเลกุลของน้ำ เคลื่อนที่ได้อย่างที่เราคิดว่ามันจะเป็น แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อย มันก็ทำให้เกิดกลไกที่น้ำจะเคลื่อนไปยังถ้ำมืดบนดวงจ ันทร์ได้ สิ่งที่ค้นพบนี้ได้ปูทางใหม่ในงานวิจัยเรื่องดวงจันท ร์ แต่เราต้องเข้าใจฟิสิกส์ของมันก่อนที่จะใช้ประโยชน์จ ากเรื่องนี้" คาร์เล เพียเตอร์ส (Carle Pieters) นักธรณีวิทยาดวงดาว จากมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) ในโรดไอส์แลนด์ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ร่วมศึกษาครั้งนี้กล่าว

การค้นพบน้ำบนดวงจันทร์ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการ สร้างฐานดวงจันทร์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางสู่ดาวดวงอื่นในอนา คต ในแง่ที่ดวงจันทร์จะเป็นแหล่งน้ำดื่มและพลังงานที่มี ศักยภาพ

ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีที่แล้วเมื่อนักบินอวกาศอะพอลโล (Apollo) ได้กลับจากดวงจันทร์ พร้อมนำตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับมาด้วยนั้น ได้พบร่องรอยของน้ำในก้อนหินด้วยระหว่างการวิเคราะห์ แร่ธาตุต่างๆ ในก้อนหิน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการปนเปื้อนในชั้นบรรยากาศโ ลก เนื่องอุปกรณ์เก็บหินเหล่านี้เกิดแตกรั่วระหว่างนำกล ับสู่โลก

"ไอโซโทปของออกซิเจนซึ่งพบบนดวงจันทร์นั้นเป็นไอโซโทป เดียวกับที่บนโลก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากที่จะบอกความแตกต่างระหว่ างน้ำจากดวงจันทร์และน้ำบนโลก" ลาร์รี เทย์เลอร์ (Larry Taylor) จากมหาวิทยาลัยเทนเนสซี (University of Tennessee) สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมของนาซาผู้ร่วมสร้างเครื่องมือสำห รับดาวเทียมจันทรายาน-1 และได้ศึกษาเรื่องดวงจันทร์มาตั้งแต่ปฏิบัติการอะพอล โลกล่าว

การค้นพบครั้งนี้นอกจากร่องรอยของน้ำแล้ว ยังพบพลศาสตร์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของรังสีดวงอา ทิตย์ ที่แผ่มากระทบพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าดวงอาทิตย์น่าจะส่งผลให้เกิ ดน้ำบนดวงจันทร์ ทั้งนี้เชื่อว่าเกิดน้ำขึ้นบนดวงจันทร์ได้ 2 ทาง อย่างแรกได้รับน้ำจากดาวหางที่พุ่งชนพื้นผิว หรือไม่ก็เกิดน้ำขึ้นเองบนดวงจันทร์ ซึ่งการเกิดน้ำขึ้นบนดวงจันทร์เองนั้นนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากอันตรกริยาของลมสุริยะที่กระทำต ่อหินและดินของดวงจันทร์

ทั้งนี้หินและดินของดวงจันทร์ที่ประกอบขึ้นเป็นผิวดว งจันทร์มีออกซิเจนอยู่ประมาณ 45% ซึ่งผสมกับแร่ธาตุอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นแร่ซิลิเกต ส่วนลมสุริยะที่ประกอบด้วยอนุภาคมีประจุซึ่งปล่อยออก มาจากดวงอาทิตย์นั้น ส่วนใหญ่คือโปรตอนหรืออะตอมไฮโดรเจนที่มีประจุเป็นบว ก

เทย์เลอร์ที่เป็นสมาชิกทีม M3 ด้วยนั้นตั้งข้อสันนิษฐานว่า หากไฮโดรเจนที่มีประจุเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 1 ใน 3 ของความเร็วแสง แล้วกระทบกับผิวดวงจันทร์ด้วยแรงที่มากพอ ประจุเหล่านี้จะทำให้ทำลายพันธะระหว่างออกซิเจนและดิ น และเมื่อเกิดประจุอิสระของออกซิเจนและไฮโดรเจน ก็มีโอกาสสูงที่น้ำปริมาณจะก่อตัวขึ้น

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ครบ 100 วันการส่ง LCROSS ไปโคจรรอบดวงจันทร์ เมื่อวานนี้ทางนาซ่าก็ยิงจรวจที่ติดดั้งอยู่บนดาวเทียมพร้อมกับปล่อยให้ตัว ดาวเทียมตกกระทบพื้นดวงจันทร์ วันนี้นาซ่าก็แถลงผลวิคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนดาวเทียมว่า ฝุ่นที่กระจายขึ้นมานั้นมีน้ำประมาณ 90 ลิตร
การยืนยันนี้ได้มาจากเซ็นเซอร์ NIR (Near Infrared) โดยอาศัยการวัดค่า spectrum ของแสงก่อนการชน และหลังการชน เพื่อเทียบสัดส่วนของพลังงานในย่านต่างๆ พบว่าย่าน 300nm นั้นมีพลังงานสูงขึ้นมาเป็นการยืนยันว่ามี hydroxyl อยู่ในฝุ่นที่ลอยขึ้นมานั้น
ก่อนหน้านี้ข้อมูลจากกล้องฮับเบิลเคยแสดงข้อมูลเบื้องต้นว่าอาจจะมีไฮดรอกซิลในฝุ่นที่ลอยขึ้นมา แต่ช่วงเวลาที่แถลงข่าวนั้นยังไม่มีการยืนยัน
ขนาดหลุมที่เกิดขึ้นจากการพุ่งชนมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-30 เมตร (60-100 ฟุต)
สำหรับการสังเกตการพวยฝุ่นที่ทางนาซ่าคาดว่าน่าจะใช้อุปกรณ์สมัครเล่นทำ ได้นั้นกลับไม่สามารถทำได้เนื่องจากสภาพอากาศ แต่ทางนาซ่าก็ได้ถ่ายภาพไว้แล้ว


ที่มา : http://jusci.net/node/1071
http://www.kroobannok.com/blog/19175

ฮาโลวีน 2009

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น




 


 


วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิง สู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป
โคมรูปฟักทอง แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น

บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผี สิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน 'All Souls' พวกเขาจะเดินร้องขอ 'ขนมสำหรับวิญญาณ' (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น
การเล่น trick or treat ตามบ้านคน

ส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง 'การหยุดยั้งความชั่ว' Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้

ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็น ส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียว กัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็น ภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or treat?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่สุด

อัลเฟรด โนเบล

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น
21 ตุลาคม วันคล้ายวันเกิดของ อัลเฟรด โนเบล






                      อัลเฟรด แบร์นฮาร์ด โนเบล (Alfred Bernhard Nobel) (21 ตุลาคม พ.ศ. 2376, สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2439, ซานเรโม ประเทศอิตาลี) นักเคมีชาวสวีเดน วิศวกร นักประดิษฐ์ ผู้ผลิตอาวุธและผู้คิดค้นดินระเบิดไดนาไมท์ เขาเป็นเจ้าของบริษัทโบโฟรส์ (Bofors) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ โดยเขาได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของโรงงานจากเดิมที่เป็นโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า มาเป็นโรงผลิตปืนใหญ่ และอาวุธต่างๆ


                     ในพินัยกรรมของเขา เขาได้ยกทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลได้จากการผลิตอาวุธให้แก่สถาบันรางวัลโนเบล เพื่อมอบรางวัลแก่บุคคลที่สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ เรียกว่า รางวัลโนเบล และในโอกาสที่มีการสังเคราะห์ธาตุชนิดใหม่ขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อธาตุนั้นตามชื่อของเขา เพื่อเป็นการให้เกียรติ ว่า โนเบเลียม (Nobelium)

                      โนเบล ผู้สืบเชื้อสายมาจากนักวิทยาศาสตร์ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชื่อโอลาอุส รุทเบค (Olaus Rudbeck - พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2251) และเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ อิมมานูเอล โนเบล (พ.ศ. 2344 - พ.ศ. 2415) เกิดที่กรุงสต็อกโฮล์มและย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อ พ.ศ. 2385 ที่ซึ่งบิดาผู้คิดค้นวิธีทำไม้อัดสมัยใหม่ได้งานสร้าง "ตอร์ปีโด" ที่นั่น แต่ต่อมาอัลเฟร็ด โนเบลได้ย้ายไปอเมริกาพร้อมครอบครัวเนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน ที่อเมริกาเขาได้ทุ่มเทตัวเองหันมาศึกษาด้านดินระเบิด โดยเฉพาะชนิดที่มีความปลอดภัยในการผลิตโดยใช้ "ไนโตรกลีเซอร์รีน" (nitroglycerine) ซึ่งค้บพบในปี พ.ศ. 2390 โดยแอสคานิโอ โซเบรโนซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับเขาที่มหาวิทยาลัยโทริโน หรือมหาวิทยาลัยแห่งตูริน อิตาลี มีรายงานว่าได้มีการระเบิดขึ้นบ่อยครั้งในโรงงานของครัวของโนเบล ครั้งที่รุนแรงถึงชีวิตในปี พ.ศ. 2407 ได้คร่าชีวิตของน้องชายชองอัลเฟร็ต โนเบลพร้อมคนงานอีกหลายคน

                      นับตั้งแต่ พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา ได้มีการมอบรางวัลโบเบลเมื่อเป็นเกียรติแก่ชายและหญิงหลายคนจากทุกมุมโลกผู้ซึ่งได้คิดค้นหรือมีผลงานที่ดีเด่นในสาขาต่างๆ ได้แก่สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณคดีและด้านสันติภาพ การจัดตั้งกองทุนรางวัลโนเบลเกิดขึ้นตามพินัยกรรมฉบับสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2438 ด้วยจำนวนเงินก้อนใหญ่มากที่โนเบลได้มอบให้

                      ก่อนเสียชีวิตไม่นานัก อัลเฟร็ต โนเบลได้เขียนบทละครเศร้าชื่อ "เทวฑัณท์" (Nmesis)เป็นบทร้อยแก้วความยาว 4 ตอน เป็นเรื่องเกี่ยวกับสตรีอิตาลีผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมอันลือลั่นในกรุงโรมในยุคนั้น บทละครได้รับการตีพิมพ์พอดีกับช่วงการตายของโนเบล หนังสือทั้งหมดถูกทำลายทันทีหลังการตายของเขา แต่ก็มีเหลือรอดอยู่ 3 เล่ม ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2546

ศพของอัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบลได้รับการฝังไว้ในกรุงสต็อกโฮล์ม



ผลงานที่สำคัญ

                     อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบลได้ค้นพบว่าเมื่อนำสารไนโตรกลีเซอรินมารวมกับตัวซึมซับเฉื่อย เช่นผงไดอะตอมมาเชียส (diatomaceous earth - ผงที่ทำจากซากไดอะตอมชนิดเดียวกับที่ใช้กรองน้ำในสระว่ายน้ำทั่วไป) จะมีความปลอดภัยมากในการผลิต ซึ่งโนเบลได้จดลิขสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2410 โดยใช้ชื่อว่า "ไดนาไมท์" และได้สาธิตดินระเบิดแบบใหม่ของเขาในปีนั้นในเหมืองแห่งหนึ่งในอังกฤษ

                    ขั้นต่อมา โนเบลได้ผสมไนโตรกลีเซอรินกับดินระเบิดชนิดอื่น (gun cotton) ได้สารชนิดใหม่ที่เป็นเยลลี่ใสที่ระเบิดได้รุนแรงกว่าไดนาไมท์ เรียกว่าเจลลิกไนท์ หรือเจลระเบิดซึ่งโนเบลได้จดลิขสิทธิ์เมื่อปี พ.ศ. 2419 และก็ได้มีดินระเบิดใหม่หลายชนิดตามมาจาการผสมโพแตสเซียมไนเตรทและสารชนิดอื่นๆ ดินส่วนใหญ่ในนั้น เป็นดินที่มีคุณภาพที่ค่อนข้างจะมีมากอยู่หลายชนิด ทำให้ อัลเฟร็ด โนเบล ประสบความสำเร็จในด้านนี้อย่างมากเลยทีเดียว



กองทุนรางวัลโนเบล

                  กล่าวกันว่าการตีพิมพ์คำไว้อาลัยการเสียชีวิตก่อนการตายของโนเบล เมื่อ พ.ศ. 2431 (โนเบลโดยหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสฉบับหนึ่งซึ่งประณามการคิดค้นไดนาไมท์(โนเบลตายปี พ.ศ. 2439) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โนเบลตัดสินใจใช้มรดกของเขาในทางที่เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ ในคำไว้อาลัยของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเขียนถากถางไว้ว่า



"พ่อค้าความตายได้ตายไปแล้ว" และเขียนต่ออีกว่า

"ดร. อัลเฟร็ต โนเบลผู้ซึ่งร่ำรวยมหาศาลด้วยการคิดค้นวิธีฆ่าคนให้ได้จำนวนมากขึ้น เร็วขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนได้ตายเสียแล้วเมื่อวานนี้"

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 ณ สโมสรสวีเดน-นอร์เวย์ ในนครปารีส โนเบลได้ลงนามในพินัยกรรมฉบับสุดท้ายของเขาพร้อมคำสัญญายกที่ดินและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลเพื่อใช้จัดตั้งรางวัลโนเบลสำหรับมอบแก่ผู้ทำประโยชน์ดีเด่นแก่โลกโดยไม่เลือกสัญชาติ



                 อัลเฟร็ต โนเบล ถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2439 ที่เมืองซานรีโม ประเทศอิตาลี จำนวนทรัพย์สินที่มอบให้แก่กองทุนรางวัลโนเบลมีมูลค่าในขณะนั้นเป็นจำนวน 31 ล้านโครนหรือ 4,233,500.00 เหรียญสหรัฐฯ
3 รางวัลแรกมอบให้แก่วิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ เคมีและวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือสรีรวิทยา รางวัลที่ 4 มอบให้แก่งานด้านวรรณคดี รางวัลที่ 5 มอบให้บุคคลหรือสถาบันที่มีบทบาทสำคัญที่สร้างความปรองดองในระดับนานาชาติ ลดการกดขี่หรือลดจำนวนกองกำลังรบ หรือสร้างสันติภาพ

                  การมอบรางวัลด้านวรรณคดีมีปัญหาในตอนแรกจากการตีความ โดยตีความว่าให้กับผลงานที่มีความสำคัญมากกว่างานเขียนที่เป็นอุดมคติหรือที่โรแมนติก ทำให้ลีโอ ตอลสตอยไม่ได้รับการพิจารณา การตีความนี้ได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการตีความเกิดขึ้นอีกหลายกรณี โดยเฉพาะระหว่างงานด้านวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ซึ่งตีความกันว่าโนเบลมุ่งให้เฉพาะวิทยาศาตร์สาขาฟิสิกส์ ทำให้วิศวกรไม่ได้รับการพิจารณาต้นเหตุเกิดจากการที่โนเบลไม่ได้ปรึกษาหารือผู้ใดเกี่ยวกับความเฉพาะของสาขาในการเขียน และการเขียนก็สั้นเพียงหน้าเดียว





ข่าวลือรางวัลโนเบล



การที่ไม่มีรางวัลโนเบลในสาขาคณิตศาสตร์อยู่ด้วยนั้น มีข่าวลือกันในขณะนั้นว่าการที่โนเบลไม่ยอมให้มีสาขาคณิตศาสตร์มีสาเหตุจากผู้หญิง ซึ่งอาจเป็นคู่หมั้นเก่าหรือภรรยาลับที่ปฏิเสธความรักของเขา หรือโกงเขาและจากไปอยู่กับนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ กอสตา มิตแทก เลฟเฟลอร์ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดทางประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนข่าวลือนี้



อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบลเป็นคนโสดไม่เคยแต่งงานตลอดชีวิต


อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%94_%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5