เมตร

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552
เมตร เป็นหน่วยฐานของความยาวในหน่วยเอสไอ ความยาวหนึ่งเมตรนิยามไว้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา 1⁄299 792 458 วินาที สัญลักษณ์ของเมตรคือ m

แต่ก่อนนั้น เมตร ยังไม่มีการนิยามที่แน่ชัด จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2500-2501 ซึ่งเป็นปีแห่งวิชาฟิสิกส์  เกี่ยวกับลูกโลกระดับนานาชาติ (International Geophysical Year)
ในสมัยก่อนนั้น เมตร เป็นหน่วยของฝรั่งเศษ ซึ่งเป็นมาตราวัดมาตรฐานในยุโรป  เริ่มครั้งแรกจากการที่วัดระยะทางจาก ขั้วโลกเหนือมาถึงกรุงปรารีส และหารด้วย 10 ล้าน ใช้เป็นหน่วยวัดที่ยอมรับกันมาก หรืออีกที่มาก็คือขนาดของโลกเป็นที่มาของหน่วยเมตรแบบฝรั่งเศส   ได้มาจากการเอา  1 ในสิบล้านส่วนจากเศษ  1 ส่วน 4 ของเส้นรอบวงโลกมาคำนวณซึ่งเป็นเส้นที่วัดจากขั้วโลกเหนือมาถึงเส้นศูนย์สูตรวัดไปตามเส้นเที่ยงวันที่พาดผ่านเมืองดันเคิร์ก





แต่หากจะลงลึกกันจริงๆแล้วจะเห็นได้ว่าหน่วยเมตรของอารยธรรมอียิปต์นั้นมีความเที่ยงตรงกว่าหน่วยเมตรของฝรั่งเศษเนื่องจากโลกนี้ไม่ได้เป็นทรงกลมที่สมบูรณ์  ระยะทางที่กล่าวถึงจึงไม่ใช่เศษ 1 ส่วน  4  ของเส้นรอบวงของโลกจริง ๆ  จึงไม่ใช่หน่วยวัดที่ถูกต้องนัก  แต่เมื่อเราแบ่งขอบเขตของวงรัศมีโลกด้วยการใช้หน่วยคิวบิทแบบอียิปต์(Egyptian Sacred Cubit)  จึงจะได้ตัวเลข 10,000,000 หน่วย  ดังนั้นหน่วยนิ้วแบบพีระมิดจึงเท่ากับ  1/5  ของห้าร้อยล้านของเส้นผ่าศูนย์กลางวงกลมที่ขั้วโลก  ผู้ออกแบบมหาพีระมิดจึงก้าวหน้ามากกว่าคนสมัยใหม่มาก  เพราะมีหน่วยวัดที่ได้จากพื้นฐานของขนาดโลก และก็รู้มิติตัวเลขของโลกดีอย่างยิ่ง

1 ความคิดเห็น:

  • แวะมาดูด ครับ